วันนี้เป็นการนำเสนอ "กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย" ของนักศึกษาทุกคน โดยอาจารย์ให้คำแนะนำก่อนเริ่มการทำกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1.ผู้สอนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองใส่ภาชนะให้เรียบร้อย เรียงลำดับวัสดุอุปกรณ์จากชิ้นเล็กไปยังชิ้นใหญ่ ติดป้ายหมายเลขกับภาชนะที่มีการเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เด็กได้เห็นอยากชัดเจน เตรียมแผ่นชารท์ที่อธิบายวิธีการทดลองและรูปภาพของการทดลอง เพื่อให้เด็กๆเข้าใจในการทดลองมากยิ่งขึ้น
2.ผู้สอนแนะนำวัสดุอุปกรณ์แต่ชนิดให้ละเอียด และถามว่า " สิ่งของชิ้นนี้ไปทำอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อย่างไร" ระหว่างการถามเด็กๆผู้สอนต้องให้ความรู้อย่างชัดเจนกับเด็กๆเมื่อเด็กๆเกิดปัญหาสงสัย
3.ผู้สอนร่วมทำกิจกรรมไปกับเด็กๆ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแรก คือ การตั้งปัญหาสมมติฐานในการทดลองวิทยาศาสตร์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
4.ผู้สอนให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
5.ผู้สอนสรุปองค์ความรู้ในการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และอาจจะมีใบกิจกรรมให้เด็กๆวาดภาพในการทดลอง เพื่อเป็นองค์ความรู้กับตัวเด็กเอง
กิจกรรมที่ 1 เรื่อง ปั้มขวดลิปเทียน
สมมติฐาน/ปัญหา
1.ขวดน้ำที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับน้ำสี
2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 เขย่าขวดน้ำที่ร้อนแล้วเทน้ำร้อนออก เทน้ำสีลงใส่จานที่ 1 จากนั้นคว่ำปากขวดลงบนจาน
การทดลองที่ 2 เทน้ำสีลงบนจานที่ 2 จุดเทียนวางไว้ในจาน จากนั้นนำแก้วมาครอบ ปิดเทียนที่จุดไว้
สรุปผลการทดลอง
การทดลองที่ 1 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวด ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
การทดลองที่ 2 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็สสูงข้ึนตาม น้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไฟดับลง
กิจกรรมทีีี่ 2 เรื่อง เมล็ดถั่วเต้นระบำ
สมมติฐาน/ปัญหา
1.โซดาที่เทลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว
2.น้ำที่เทลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
แก้วใบที่ 1 ใส่ถั่วลงไปโดยใช้ช้อนตวง จากนั้นเทโซดาลงไปในแก้วด้วย
แก้วใบที่ 2 ใส่ถั่วลงไปโดยใช้ช้อนตวงให้เท่ากับแก้วใบที่ 1จากนั้นเทน้ำลงไปในแก้วด้วย
สรุปผลการทดลอง
ในโซดามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ จึงทำให้เมล็ดถั่วเกิดการลอยตัว
ขึ้นมาได้
กิจกรรมที่ 3 เรื่อง แรงตึงผิว
สมมติฐาน/ปัญหา
1.น้ำในแก้วจะทำอะไรได้บ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
การทดลองที่ 1 เทน้ำใส่ลงไปในแก้วน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
การทดลองที่ 2 ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนฝาขวดน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
การทดลองที่ 3 ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนเหรียญจนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
สรุปผลการทดลอง
น้ำมีแรงตึงผิว จึงทำให้น้ำไม่ล้นออกมาและทำให้สัตว์บางชนิดเดินบนผิวนน้ำได้ เช่น ยุง แมลงปอ
สมมติฐาน/ปัญหา
1.ถ้านำไฟฉายมาส่องแก้วน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
วางแก้วใบที่ 1 บนโต๊ะ จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง
วางแก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2 ให้มีระยะห่างกันเล็กน้อย จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง
สรุปผลการทดลอง
1.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้ว แสงจะไปตกกระทบที่แก้วแล้วเกิดแสงขึ้นมา
2.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2 พร้อมกัน แก้วใบที่ 1 จะเกิดแสงใหญ่กว่ากว่าแก้วใบที่ 2 เพราะแก้วใบที่ 1 อยู่ใกล้แสงมากกว่าแก้วใบที่ 2
กิจกรรมที่ 5 เรื่อง กระจกเงา
สมมติฐาน/ปัญหา
1.ถ้าวาดรูปใส่กระดาษแล้วไปส่องกับกระจกจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.วาดรูปใส่กระดาษเพียงครึ่งรูป แล้วนำไปส่องกับกระจก โดยวางกระดาษกับกระจกให้ตั้งฉากกัน
สรุปผลการทดลอง
เกิดการสะท้อนของเงารูปภาพไปอีกฝั่ง จึงทำให้เห็นรูปภาพที่เต็มขนาด
กิจกรรมที่ 6 เรื่อง ไหลแรงหรือไหลค่อย
สมมติฐาน/ปัญหา
1.เมื่อเจาะรูบนขวดน้ำ น้ำจะไหลออกมาได้เร็วหรือช้า
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.นำขวดน้ำ มาเจาะรู 2 รู คือ รูข้างบนและรูข้างล่าง แล้วน้ำเทปใสมาปิดตรงรู ทั้ง 2 รู จากนั้นเทน้ำใส่ลงไปในขวดน้ำที่เจาะรูให้เต็ม
2.นำขวดน้ำที่เจาะรู มาวางไว้บนถาด จากนำเทปใสที่ปิดรูไว้ เปิดออกทั้ง 2 รูป ให้น้ำไหลออกมา
สรุปผลการทดลอง
รูทีอยู่ด้านล่าง น้ำจะไหลออกมาได้เร็วกว่ารูที่อยู่ข้างบน เพราะรูข้างล่าง
กิจกรรมที่ 7 เรื่อง ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท

สมมติฐาน/ปัญหา
1.ดินน้ำมันสามารถนำไปปั้นอะไรได้บ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.ให้เด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นทรงกลมหรือลูกบอล จากนั้นให้กดดินน้ำมันด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้ได้รูปทรงคล้ายกล่องขนาดเล็ก (ทรงสี่เหลี่ยม) จากนั้นกดทุกด้านให้มี ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท เท่าๆกัน จะได้รูปทรงลูกเต๋าออกมา (สี่เหี่ยมจัตุรัส) หรือให้เด็กปั้นดินน้ำมันเป็นท่อนยาวๆ
(ทรงกระบอก) โดยคลึงดินน้ำมันกับพื้นเรียบ
2.หลังจากนั้นปล่อยให้เด็กปั้นเป็นทรงต่างๆตามใจชอบ ซึ่งครูอาจแนะนำเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่น ปั้นเป็นทรงพีระมิด ทรงกรวย
3.เมื่อได้ดินน้ำมันเป็นทรงต่างๆให้เด็กใช้เส้นด้ายตัดดินน้ำมันที่ปั้นเอาไว้ จากนั้นให้ครูสอนเด็กในเรื่องหน้าตัดที่เกิดขึ้น ว่าเป็นรูปทรงเรขาคณิตชนิดใด เช่น การตัดตั้งฉากดินน้ำมันทรงกลมจะได้หน้าตัดเป็นรูปวงกลม แล้วถามว่าถ้าตัดดินน้ำมันที่เป็นลูกเต๋า จะได้หน้าตัดเป็นรูปอะไรระหว่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสามเหลี่ยม
4.นอกจากนี้ครูอาจให้เด็กใช้พู่กันระบายสีหน้าตัดเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ โดยให้เด็กปั้นเล่นบนกระดาษสรุปผลการทดลอง
1.ได้ทักษะการปั้นและศิลปะในการปั้มสีลงบนกระดาษ
2.ได้เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต ส่วนประกอบของรูปเรขาคณิต เช่น มุม ด้าน จำนวนหน้าตัดและรูปร่างหน้าตัด ลักษณะภายนอกของรูปทรงเรขาคณิตเรียกว่าอะไร และ รูปทรงมีส่วนประกอบหลัก คือ ความกว้าง ความยาวและความสูง เรียกว่า " มิติ " รูปรทรง 2 มิติ จะมีความยาวและความกว้าง ส่วนรูปทรง 3 มิติ จะมีความกว้าง ความยาวและความสูง
กิจกรรมที่ 8 เรื่อง ท่วงทำนองตัวเลข

สมมติฐาน/ปัญหา
1.การนับจำนวนทำได้อย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส พับมุมทั้ง 4 มุมให้เป็นสามเหลี่ยมให้เท่ากันทุกด้าน
2.พลิกด้านที่เรียบขึ้นมา แล้วพับมุมทั้ง 4 มุมให้เป้นสามเหลี่ยมให้เท่ากันทุกด้านอีก
3.ใช้สีระบายลงในช่องทั้ง 4 ให้สวยงาม และเขียนตัวเลข 1-4
4.คลี่กระดาษให้เป็นรูปทรงจัตุรัส ลองให้เด็กๆเล่น
สรุปผลการทดลอง
ได้ฝึการนับจำนวนตัวเลขและเรื่องสี
กิจกรรมที่ 9 เรื่อง พับและตัด
สมมติฐาน/ปัญหา
1.เมื่อหยดสีลงบนกระดาษแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.พับกระดาษโดยแบ่งครึ่งให้เท่ากัน หยดสีลงนกระดาษ แล้วปิดกระดาษลงกดทับตรงที่
หยดสีลงไป
2.หยดสีลงบนจุดกึ่งกลางของกระดาษ วางเส้นดายทาบลงบนเส้นจุดกึ่งกลางของกระดาษ
ปิดกระดาษลงกดทับตรงที่หยดสีไว้ ให้ดึงด้ายลงมาตามเข็มนาฬิกา
สรุปผลการทดลอง
การดึงด้ายทำให้เกิดเป็นรูปภาพต่างๆขึ้นมา
กิจกรรมที่ 10 เรื่อง แสง สี และการมองเห็น
สมมติฐาน/ปัญหา
1. ทำไมแผ่นสีที่มีสีเดียวกันกับรูปภาพถึงมองไม่เห็น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.วาดรูปลงบนแผ่นกระดาษ ใช้สี 3 สี (แดง เขียว น้ำเงิน) จากนั้นนำแผ่นใส 3 สี เรียงต่อกัน
(แดง เขียว น้ำเงิน) มาวางทาบไว้ข้างบนแผ่นที่วาดรูป
สรุปผลการทดลอง
กระดาษที่มีสีเดียวกับรูปไม่สามารถมองเห็นได้
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจนำเสนอกิจกรรมการทดลองของตนเองอย่างตั้งใจ และตั้งใจฟังเพื่อนทำกิจกรรมการทดลอง จดบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อนำมาเป็นความรู้
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆนำเสนอกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ทั้งดีและทั้งที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดชัดเจน เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น