Research Science Provision for Early Childhood







         การวิจัย  เรื่อง  การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 E 
 โดย  นางสาวกนกวรรณ พิทยะภัทร   ของมหาวิทยาลัยศิลปากร  ปีการศึกษา 2556

บทที่ 1  บทนำ
        การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบเสาะได้พัฒนาขึ้นมาจากกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียน รู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล ทําให้ค้นพบความรู้หรือแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
        1.การจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
1.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 
        ทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็กและกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็นในความรู้ใหม่นําไปสู่การกำหนดปัญหาที่ต้องการศึกษา
1.2 ขั้นสํารวจและค้นหา (Exploration) 
        เด็กวางแผนและออกแบบการสํารวจรวบรวมข้อมูลและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เช่น ทำการทดลอง การทํากิจกรรมภาคสนาม และบนทึกผลการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอ
1.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 
        นําข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ  ทดลอง มาสรุปผลและนําเสนอผลในรูปแบบต่างๆ เช่น  การวาดภาพ  ทําแผนภูมิความคิด โดยมการลงข้อสรุปที่ถูกตองเชื่อถือได้   ได้แก่ 1.ความสามารถในการคิด
แก้ปัญหา    2.จิตวทยาศาสตร์   ความสนใจใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์
1.4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
         นําความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงหรือขยายความคิดให้กวางขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่แล้ว นำไปศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติม
1.5.ขั้นประเมินผล (Evaluation)
         ประเมินองค์ความรู้ของเด็กตามสภาพจริง ดูจากผลงาน สังเกตพฤติกรรมขณะรวมกิจกรรมและการตอบคำถามเพื่อให้ทราบว่าเด็กมีความรู้อะไร อย่างไร
          2.จิตวิทยาศาสตร ์ (Scientific Mind)
                จิตวิทยาศาสตร์  หมายถึง  พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่เกิดขึ้นนขณะที่ครูจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งสามารถวัดได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น   ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้   ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์  
                  จิตวิทยาศาสตร์  หมายถึง ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความชอบ ความสนใจ เห็นคุณค่า และเกิดแรงจูงใจใน การเรียนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งยังเป็นการแสดงพฤติกรรมของเด็กปฐมวยที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์  ความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และสนใจที่จะค้นคว้าสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
         1.เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
         2.เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
          1.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปี พ.ศ. 2546 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลาดใหญ่สามัคคี
          2.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย   ได้แก่ แนวคิดของเพียเจท์ แนวคิดของ จอห์นดิวอี้  และแนวคิดของอิริคสัน 
          3.การคิดแก้ปัญหา  ได้แก่  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์   และทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของไวกอตสกี 
          4.การจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 
          5.จิตวิทยาศาสตร์
          6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
              1.1 ประชากร   ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือขายลาดใหญ่  ่จํานวน 10 โรงเรียน
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม  จํานวน 200คน
              1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านลาดใหญสามัคคี  ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย
(Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียนได้ห้องอนุบาลปีที่ 2 จํานวน 23 คน

2.ระยะเวลา 
             ใช้เวลาในการดำเนินการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 5 วัน คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ วันละ45 นาที  เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง
วันที่ 27 ธันวาคมพ.ศ. 2556

3.เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ
             3.1 แผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 
     ในการนี้ผู้วิจัยได้นํารูปแบบการจดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มากําหนดเป็นหน่วยการจัดประสบการณ์โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวและของดีประจําจังหวัด สมุทรสงครามกาหนดเป็นเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของหน่วยการจัดประสบการณ ์ จํานวน 8 หน่วย คือ
1.หน่วยดอนหอยหลอด                             
2.หน่วยดอกไม้ในอุทยานรัชกาลที่ 2
3.หน่วยแม่นํ้าแม่กลอง                              
4.หน่วยนาเกลือ
5.หน่วยปลาทูแม่กลอง
6.หน่วยป่าชายเลน 
7.หน่วยมะพร้าว
8.หน่วยน้ำตาลมะพร้าว
จัดกิจกรรมในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
         3.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 
โดยทดสอบการคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นจํานวน 4 สถานการณ์   ได้แก่ 
1.ถ้าหนูรับประทานปลาทู แลวก้างปลาติดคอ หนูทําอยางไร 
2.ถ้าหนูไปปลูกป่าชายเลนแล้วโดนโคลนดูดขา หนูทําอยางไร 
3.ถ้าหนูอยากใชแว่นขยาย แต่เพื่อนกำลังใช้อยู่ หนูทําอยางไร 
4.ในขณะที่หนูยืนเขาแถว หนูรู้สึกปวดปัสสาวะ หนูทําอยางไร 
          ปัญหาของผู้อื่น คือ การกระทำของผู้อื่นแต่มีผลกระทบกับตนเอง  ได้แก่ 
1.ถ้าหนูเห็นเพื่อนไม่กล้าเดินเข้าไปในนาเกลือ หนูทําอยางไร 
2.ถ้าหนูพบกระเป๋าสตางค์ของคนอื่นหล่นที่พื่อน หนูทําอยางไร 
3.ถ้ามีนักท่องเที่ยวมาถามทางไปสุขา หนูทําอย่างไร 
4.ถ้าเพื่อนทำรองเท้านักเรียนหาย หนูทําอยางไร 
        3.3 แบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยได้กำหนดพฤติกรรมตามคุณลกษณะของจิตวิทยาศาสตร์ที่ต้องการใช้ในการประเมินเด็กทั้ง 
3 ด้าน    ได้แก่   1.ความสนใจใฝ่รู้    2.ความรับผิดชอบ และ 3.ความซื่อสัตย์
        3.4 แผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 
จํานวน 8 หน่วย มีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 
2.วิเคราะห์หลกสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศกราช  2546  โรงเรียนบ้านลาดใหญ่สามัคคี สภาพที่
พึงประสงค์ของเด็กอายุ 5 ปี
3.กำหนดเนื้อหาโดยใช้แหล่งท่องเที่ยวและของดีประจำจังหวัดสมุทรสงครามและแนวทางการจัดการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ทั้ง 8 หน่วยการเรียนรู้


4.การวิเคราะห์ข้อมูล
         4.1 การวเิคราะห์ข้อมูลจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E วัดด้วยแบบทดสอบวัด ความสามารถในการคิดแกปัญหาโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ทดสอบค่าที
One Sample t-test  เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80
         4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยชั้นอนุบาลปีที่  2 วัดด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์ขณะได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่  ด้านความสนใจใฝ่รู้  ด้านความรับผิดชอบ และด้านความซื่อสัตย์
โดยเกณฑ์การให้คะแนน  3 ระดับ ได้แก่  ดี พอใช ้ปรับปรุง โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 (S.D.)

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

            ตอนที่  1 ผลการศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

            พิจารณาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาผู้อื่น  พบว่า สถานการณ์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ที่ 4 (ถ้าเพื่อนทำรองเท้านักเรียนหาย หนูทําอยางไร)  รองลงมา คือ
สถานการณ์ที่ 1 และสถานการณ์ที่ 2 (ถ้าหนูเห็นเพื่อนไม่กล้าเดินเข้าไปในนาเกลือ หนูทําอยางไร 
และถ้าหนูพบกระเป๋าสตางค์ของคนอื่นหล่นที่พื่อน หนูทําอยางไร) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน  และ
สถานการณ์ที่ 3 (ถ้ามีนักท่องเที่ยวมาถามทางไปสุขา หนูทําอย่างไร) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
            พิจารณาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น พบว่า สถานการณ์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ 
สถานการณ์ที่ 3(ถ้าหนูอยากใชแว่นขยาย แต่เพื่อนกำลังใช้อยู่ หนูทําอยางไร )  รองลงมา คือ 
สถานการณ์ที่ 2 และ สถานการณ์ที่ 4 (ถ้าหนูไปปลูกป่าชายเลนแล้วโดนโคลนดูดขา หนูทําอยางไร และในขณะที่หนูยืนเขาแถว หนูรู้สึกปวดปัสสาวะ หนูทําอยางไร ) และ
สถานการณ์ที่ 1(ถ้าหนูรับประทานปลาทู แลวก้างปลาติดคอ หนูทําอยางไรมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

            ตอนที่ 2 ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
            หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E  เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีจิตวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับดี   ด้านความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (หน่วยแม่น้ำกลองและหน่วยปลาทูแม่กลอง)  รองลงมา คือ  ด้านความรับผิดชอบ (หน่วยแม่น้ำกลอง) และด้านความสนใจใฝ่รู้ (หน่วยนาเกลือ  หน่วยปลาทูแม่กลองและหน่วยมะพร้าว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

           1.ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เม่ื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่าสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80  ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้อื่นสูงกว่าปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
           2.จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้
แบบ 5E  ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้   ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์  พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงมา คือด้านความรับ
ผิดชอบ และด้านความสนใจใฝ่รู้  ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 


ที่มา : www.thapra.lib.su.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น