วันนี้เป็นวันแรกของการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา ให้ไปสร้างบล็อกของวิชา การจัดประสบการณ์ทาง
วิทยาศสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ หาหนังสือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
ชื่อหนังสือ: Discovery โลกของแมลง
เขียนโดย : Peter J.Nesky
แปลและเรียบเรียง: สุรัตนา เลิศประเสริฐกุล
เนื้อหาภายในเล่มมีเรื่องเกี่ยวกับ การกำเนิดของแมลง ลักษณะทางกายภาพของแมลง วิวัฒนาการการกินและขยายพันธุ์ของแมลง มุมมองด้านลบของแมลง ความแตกต่างของแมลงกับแมง และการจำแนกประเภทของแมลงตัวน้อย
1.การกำเนิดของแมลง
ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ กว่า 400 ล้านปีมาแล้ว แมลงเป็นสัตว์น้อยที่มีรูปร่างเปราะบาง พวกเราจีงไม่สามารถเห็นพวก "ฟอสซิล" ของแมลงที่มีอายุมากขนาด 400 ล้านปี
ซึ่งนักกีฏวิทยา (ศาสตร์ของการศึกษาด้านแมลง) ได้ประมาณการว่าบนโลกมีแมลงมากมายและสามารถแบ่งเป็นพันธุ์ได้มากถึง 50 ล้านชนิด แต่จึงได้จำแนกแบบง่ายๆ ดังนี้
ผีเสื้อในประเทศไทยมี 1,200 ชนิด รวมกันทั่วโลกมีมากกว่า 19,000 ชนิด ด้วงทั่วโลกมีมากกว่า 100,000 ชนิด ตั๊กแตนก็มีมากกว่า 10,000 ชนิดทั่วโลก ส่วนแมลงปอในเมืองไทยมีไม่น้อยกว่า
300 ชนิด มีมดประมาณเกือบ 1,000 ชนิด แต่รวมกันทั้งโลกมีประมาณ 8,000 ชนิด ส่วนแมลงวันทั้งโลกมีเกือบ 10,000 ชนิดด้วยกัน
2.ลักษณะทางกายภาพของแมลง
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว อกและท้อง ในช่วงอกและท้องไม่ค่อยมีอวัยวะต่างๆมากมาย และในส่วนหัว จะประกอบไปด้วยกกะโหลกและอวัยวะต่างๆ ดังนี้
ตา หนวด ปาก คอ อก ขา ปีก และท้อง
2.1 วัฏจักรชีวิตของแมลง มี 4 แบบ ดังนี้
2.1.1 การเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ มี 4 ขั้น คือ ตัวอ่อน-หนอน-ดักแด้-ผีเสื้อ แมลงวัน ด้วงและยุง
2.1.2 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่ไม่สมบูรณ์ มี 3 ขั้น คือ วางไข่-ตัวอ่อน(หายใจทางเหงือก)-ลอกคราบ เช่น แมลงปอและแมลงชีปะขาว
2.1.3 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย คือ ไข่-ตัวอ่อน-ลอกคราบ เช่น แมลงสาบ เหา และปลวก
2.1.4 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลย เปลี่ยนแต่ขนาด เมื่อฟักไข่ เช่น แมลงสองง่าม แมลงหางดีด และแมลงสามง่าม
3.วิวัฒนาการการกินและขยายพันธุ์ของแมลง
แมลงจะกินตั้งแต่ลำต้น ใบ ดอก รากและผลของพืช
แมลงจะขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตัวเป็นแม่จะวางไข่ไว้กับแหล่งอาหารเพื่อให้ลูกที่ฟักออกมามีอาหารกัดกินอย่างอุดมสมบูรณ์
-แมลงตัวผู้จะมี อัณฑะ 1 คู่ ในอัณฑะจะมีท่ออสุจิ ผลิตอสุจิ
4.มุมมองด้านลบของแมลง
แมลงสามารถทำลายผลิตผลทางเกษตร ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้กล้า แมลงบั่ว หนอนห่อใบข้าว แมลงสิง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
แมลงร้ายที่เป็นศัตรูพืชชนิดอื่นๆ นอกจากทำลายนาข้าว ได้แก่ มออดิน เพลี้ยยข้าวโพดอ่อน หนอนเจาะฟักข้าวโพด ตั๊กแตนปาทังก้า เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง
แมลงที่ทำร้ายมนุษย์ ได้แก่ แมลงหวี่ แมลงวันบ้าน แมลงวันหัวเขียว ยุง
5.ความแตกต่างของแมลงกับแมง
แมลง
-มี 3 ส่วน คือ หัว อกและท้อง
-แมลงมี 6 ขา
-แมลงมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก อาจจะมีปีก 1 หรือ 2 คู่
-แมลงมีทั้งแบบตารวมและตาเดี่ยว
แมง
-มี 2 ส่วน คือ หัวและท้อง
-แมงมี 8-10 ขา
-แมงไม่มีหนวด
-แมงทุกชนิดไม่มีปีก
-แมงไม่มีตารวม มีแต่ตาเดี่ยว
6.การจำแนกประเภทของแมลงตัวน้อย
6.1 กลุ่มแมลงปีกแข็ง
-ด้วงกินพืช เช่น ด้วงน้ำมัน ด้วงขาโต แมลงทับ
-ด้วงกินเนื้อสัตว์ เช่น แมลงตับเต่า
-ด้วงกิน๙ากสัตว์ เช่น ด้วงกว่าง
6.2 กลุ่มผึ้ง
-ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรง แตน ต่อ หมาร่า
6.3 กลุ่มแมลงในสวน
-ตั๊กแตนกิ่งไม้ยักษ์ แมลงหางหนีบ หิ่งห้อย แมลงเต่าทอง
6.4 กลุ่มแมลงในบ้าน
-แมลงสาบ แมลงสาบอเมริกัน แมลงสาบออสเตรเลีย แมลงสาบสามัญ แมลงสาบเยอรมัน
เห็บสุนัข เหา ตัวเรือด ตัวสามง่าม ตัวมวนเพชรฆาต
6.5 กลุ่มแมลงกินได้
-ตั๊กแตนปาทังก้า แมลงทับราชา ด้วงหนวดยาวอ้อย จักจั่น มดแดง จิ้งหรีด มวนวน
ดักแด้ไหม แมลงดานา
6.6 กลุ่มมด
-มดคันไฟ มดเหม็น มดคันไฟ มดง่าม ปลวก แมลงเม่า
6.7 กลุ่มผีเสื้อ
-วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง วงศ์ผีเสื้อป่า
6.8 กลุ่มแมลงน้ำ
-แมลงปอ มวนกรรเชียง จิ้งโจ้น้ำ
6.9 กลุ่มแมลงดีในนา
-จิ้งหรีดหางดาบ ด้วงเต่า
6.10 กลุ่มแมลงกินแมลง
-แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา และทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่าางตั้งใจค่ะ
ประเมินเพื่อน
มีเพื่อนๆบางส่วนที่ไม่มาเข้าพบอาจารย์ ส่วนคนที่มาก็ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำเสร็จได้ทันตามเวลาที่อาจารย์กำหนดค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้สั่งงานอย่างระเอียด และทำความเข้าใจกับเรื่องชั่วโมงที่เรียนกับนักศึกษาอย่างเข้าใจกันดีค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น