Learning log 4
อาจารย์ทบทวนความรู้ก่อนการที่จะเริ่มเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในเรื่อง ความหมายลักษณะพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องตามขั้นบันได (ความสามารถของเด็กที่แสดงออกในแต่ละช่วงอายุ) เพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้เหมาะกับช่วงอายุของเด็ก
ทฤษฎีเพียเจต์ กล่าวใน ด้านสติปัญญาการทำงานของสมอง
อายุ 0-2 ปี ขั้นรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
อายุ 2-4 ปี ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Pre-operation stage)
อายุ 4-7 ปี ใช้เหตุผลได้ จะเรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ (Conservation)
ทฤษฎีด้านสติปัญญา ได้แก่ เพียเจต์ บรูเนอร์
ทฤษฎีด้านภาษา ได้แก่ ไวก็อตสกี้ กานเย่
ทฤษฎีด้านสังคม ได้แก่ มาสโลว์
ทฤษฎีด้านคุณธรรมจริยธรรม ไ้ดแก่ โคลเบิร์ก
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง สิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเรา ที่สามารถนำมาเรียนรู้และประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันของเรา
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
ได้แก่ ใช้สร้างเครื่องมือทางการแพทย์ การเพาะปลูกขยายพันธุ์ และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
สาเหตุที่ทำให้เด็กปฐมวัยอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.การอยากรู้อยากเห็น
2.การแสวงหาความรู้ความสามารถการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
3.เป็นวัยที่มีการพัฒนาสมองมากกที่สุด คือช่วง 0-2 ปี (80%)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ แก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำตามสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะการสังเกต (Observation)
เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยตรงกับวัตถุ เพื่อมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลในรายละเอียดนั้นๆ
เช่น การสังเกตรูปร่างทั่วไป
2.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
เป็นความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของโดยใช้เกณฑ์ (Criteria)
เช่น ความเหมือน (หมวกที่มีสีเหมือนกัน) ความแตกต่าง (กล่องใบใหญ่-กล่องใบเล็ก) ความสัมพันธ์ร่วม (รูปภาพรถ-ถนน)
3.ทักษะการวัด ( Measurement)
เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อวัดหาปณิมาณในสิ่งที่เราต้องการทราบ
เช่น รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดเป็นอย่างไร การเลือกเครื่องมือมาวัด วิธีการการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Communication)
เป็นการพูด การเขียน การสร้างรูปภาพและภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า เพื่อให้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น ต้องรู้จักลักษณะคุณสมบัติวัตถุ บันทึกการเปลี่ยนแปลง การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดทำได้ การจัดทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Interring)
เป็นการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์ต่างๆ เช่น การหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ การสรุปความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัว
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space)
เป็นการเรียนรู้ใน 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ และการบอกทิศทาง
เช่น การบอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางกับวัตถุ การบอกตำแหน่งซ้าย-ขวา
การสังเกตภาพ 2 มิติ 3 มิติ
7.ทักษะการคำนวณ (Calculation)
เป็นความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุต่างๆ การบวก ลบ คูณ หาร ความยาว ความสูง
เช่น การคำนวณรายรับ-รายจ่าย การคำนวณความยาวของรองเท้า
ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์
1.มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ มีความสามารถในการคิดวิเคาระห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์
2.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2561
3.การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
สมองกับวิทยาศาสตร์
1.การตีความข้อมูล
2.การเชื่อมโยงความจริงเข้าหากัน
3.การประเมินคุณค่า
4.การจำแนกองค์ประกอบ
คุณสมบัติที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1.การเข้าใจในสิ่งที่วิเคราะห์
2.การสังเกตและตั้งคำถาม 5W1H
3.การมีความสามารถในการลงความเห็น
4.การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
องค์ประกอบการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.สิ่งที่กำหนดให้ เช่น การสังเกต การจำแนก
2.หลักการและเกณฑ์การจำแนก คือ ความสัมพันธ์กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3.การค้นหาความจริง คือ การรวบรวมประเด็นเพื่อนำมาสรุป
ความสามรถในการลงความเห็นจากข้อมูล (คำถาม)
การค้นหาคำตอบได้ เช่น อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ฝนตก
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.การกำหนดสิ่งที่ศึกษา
2.การกำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
3.การกำหนดหลักเกณฑ์
4.การสรุปผล
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย และจดเนื้อหาที่สำคัญเพื่อนำไปทบทวนความรู้อีกครั้งหลังการเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆบางส่วนมาเข้าเรียนสาย แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ทุกคนเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายรายละเอียดเนื้อหาที่เรียนในเรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเข้าใจดี และแนะนำส่วนที่ต้องไปแก้ไขในเรื่องแฟ้มสะสมผลงานอิเล็คทรอนิกส์ให้เรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น