วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Wednesday 24 October 2018

Learning  log 9

             อาจารย์อธิบายในรายละเอียด การที่จะจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ต้องดูจาก
1.สาระที่ควรเรียนรู้       2.ประสบการณ์เรียนรู้ (รอบตัวเด็ก  สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  บุคคลและสถานที่และธรรมชาติรอบตัว) การใช้เทคนิคคำถามที่ทำให้เด็กได้คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมมาสู่ชีวิตประจำวันของเด็ก และส่วนการประเมินผลเด็ก ใช้วิธีการสนทนา-ซักถาม
การให้เด็กวาดรูปในกิจกรรมการทดลอง  และการสังเกตการทดลอง
           ต่อมาอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆทีีอัดคลิปวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย     ดังนี้
            
กิจกรรมที่  16  เรื่อง ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่ 


ปัญหา/สมมติฐาน
        1.เมื่อเทน้ำใส่ภาชนะที่ต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.หาภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกัน  3  ขนาด 
        2.ใส่น้ำลงไปในภาชนะทั้ง 3 ขนาด โดยใช้แก้วตวงน้ำ เป็น 1 แก้วเท่ากัน 
        3.ให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง 

สรุปผลการทดลอง
        น้ำในภาชนะทุกใบ มีปริมาณน้ำที่เท่ากันเพราะน้ำในแก้วที่เทใส่ภาชนะเป็นขนาดเดียวกัน


กิจกรรมที่ 17  เรื่อง ลูกข่างหลากสี


ปัญหา/สมมติฐาน
          1.ถ้าหมุนลูกข่างแล้วจะเกิดสีอะไรขึ้นบ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
          1.ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม  ติดลูกปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
          2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
          3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเพียงเท่านั้น


กิจกรรมที่  18  เรื่อง  เครื่องชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ


ปัญหา/สมมติฐาน
        1.ถ้าใส่ของลงไปในตะกร้าทั้งสองข้างจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.นำไม้แขวนเสื้อมา 1 ไม้  แล้วนำแก้วน้ำผูกติดกับไม้แขวนเสื้อทั้งสองฝั่ง
        2.นำสิ่งของ 2 สิ่งอย่างที่มีขนาดน้ำหนักแตกต่างกันใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งสองฝั่ง
        3.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแก้วน้ำว่าเบี่ยงไปทางไหนมากที่สุด 

สรุปผลการทดลอง
       สิ่งของต่างๆทุกอย่างมีน้ำหนักที่แตกต่างกันไป


กิจกรรมที่  19  เรื่อง  เรื่อแรงลม


ปัญหา/สมมติฐาน
         1.ถ้าเราเป่าลมใส่เข้าในรูแกนกระดาษทิชชู่จะเกิดไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
         1.นำถ้วยโฟม มาเจาะรูวงกลมตรงกลาง 
         2.จากนั้นนำแกนกระดาษทิชชู่มาติดตรงที่เจาะรูไว้
         3.ทดลองเป่าลมลงไปในตรงรูกระดาษทิชชู่

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อเป่าลมเข้าในรูทำให้เรื่อเคลื่อนที่ได้ เพราะแรงดันจากลมที่เป่าเข้าในรู

ประเมินตนเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจสิ่งที่เพื่อนๆออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนและจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญค่ะ

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนๆขาดเรียนกันเยอะ  ส่วนคนที่นำเสนอคลิปวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์แนะนำเนื้อหาที่สำคัญที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก  เพื่อให้นักศึกษาจดจำ นำไปใช้ได้จริงในการสอนเด็กๆค่ะ

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Wednesday 17 October 2018

Learnnig Log 8



               วันนี้อาจารย์ให้จัดทำโครงการที่เกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้ปฎิบัติจริงและฝึกการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรม   มีหลักการในการเขียนโครงการ  ดังนี้
1.ชื่อโครงการ
2.หลักการและเหตุผล
3.เวลาและสถานที่ /งบประมาณ
4.ตาราางการทำกิจกรรมต่างๆ
5.วิธีการประเมินผล
6.การแบ่งหน้าที่
           ซึ่งกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ในแต่ละกลุ่มที่จะทำการทดลองต้องมีรายละเอียด  ดังนี้
1. ตั้งชื่อกิจกรรม  ให้มีความน่าสนใจ
2.วัตถุประสงค์ (เด็กต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด   การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กและประสบการณ์สำคัญรอบตัวเด็ก)
3.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
4.ขั้นตอนการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
5.ผลที่เด็กๆจะได้รับ
   

        กิจกรรมมี 5 ฐาน  ได้แก่     ฐานที่ 1  กิจกรรม ลูกโป่งพองโต
ฐานที่ 2  กิจกรรม "ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด 
ฐานที่ 3  กิจกรรม Shape of  Bub-Bub  Bubble 
ฐานที่ 4  กิจกรรม ปั๊มขวดและลิปเทียน
ฐานที่ 5  กิจกรรม เรือดำนำ


                     

ประเมินตนเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา   ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนบางส่วนเข้าเรียนสาย   แต่ทุกกลุ่มตั้งใจทำงานอย่างดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์อธิบายรายละเอียดในการจัดโครงการการทดลองวิทยาศาสตร์ให้ฟังอย่างละเอียด เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง


                                              


วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Wednesday 10 October 2018

Learning Log 7


          
             
            ก่อนการเริ่มเรียนอาจารย์ได้เปิดคลิปวีดีโอการทดลองฟองสบู่  ให้นักศึกษาได้ดู เพื่อไดัรับความรู้ในเรื่อง  แรงตึงผิวของน้ำ หรือปรากฏการณ์แคปปิราลี่  เกิดจากการที่น้ำมีโมเลกุลที่ยึดติดกันจึงทำให้เกิดแรงตึงผิว  จากนั้นเป็นการนำเสนอกิจกรรม "บ้านนักวิทยาศาสตร์"  ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  มีดังนี้

กิจกรรมที่  11  เรื่อง ฟองสบู่

                           
ปัญหา/สมมติฐาน 
         1.น้ำกับน้ำยาล้างจานเมื่อผสมกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
          1.เทน้ำใส่กะละมัง  1/4  ของขวดน้ำ และผสมน้ำยาล้างจาน  5 ช้อน คนให้เข้ากัน
          2.ดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ 
          3.นำลวดที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆ พันกับลวดกำมะหยี่
          4.นำลวดรูปทรงที่ตัด มาจุ่มน้ำในกะละมัง แล้วยกขึ้นมาเป่าเบาๆ

สรุปผลการทดลอง
           เมื่อผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานแล้วเป่าจะเกิดฟองขึ้นมา  เพราะในน้ำยาล้างจานมีพื้นผิวที่ลื่นจึงทำให้เกิดฟองขึ้นมา

กิจกรรมที่ 12  เรื่อง ลูกโป่งพองโต



ปัญหา/สมมติฐาน 
           1.เบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูเมื่อผสมกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
           1.นำเบคกิ้งโซดาใส่ในลูกโป่ง
           2.นำน้ำส้มสายชูใส่ในขวดน้ำครึ่งขวด
           3.นำลูกโป่งมาสวมเข้ากับขวดน้ำ

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อผสมเบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูแล้วอากาศจะลอยเข้าไปในลูกโป่งทำให้ลุกโป่งพองโต

กิจกรรมที่  13  เรื่อง การแยกเกลือกับพริกไทย



ปัญหา/สมมติฐาน 
            1.เราจะสามารถแยกเกลือกับพริกไทยออกจากกันได้อย่างไร

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
            1.ผสมเกลือกับพริกไทยลงในจาน 
            2.ถูช้อนด้วยผ้าขนสัตว์ แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นมา
            
สรุปผลการทดลอง
             ช้อนมีประจุลบ-บวก ส่วนผ้ามีประจุบวก จึงเกิดไฟฟ้าสถิตและเคลื่อนที่ไป ทำให้ดูดพริกไทยลอยขึ้นมาได้

กิจกรรมที่  14  เรื่อง  ภาพซ้ำไปมา


ปัญหา/สมมติฐาน 

             1.เราจะสามารถต่อภาพได้อย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
             1.วาดรูปนก ระบายสีแล้วตัดออกมาเป็นภาพนก
             2.นำรูปนกมาเรียงต่อกัน แล้วสังเกตรายละเอียด

สรุปผลการทดลอง
             เมื่อนำภาพมาเรียงต่อกันเป็นรูปภาพแล้ว  ได้สังเกตรายละเอียดของรูปภาพและได้ฝึกทักษะการต่อภาพให้เป็นทิศทางเดียวกัน

กิจกรรมที่  15  เรื่อง ระฆังดำน้ำ


ปัญหา/สมมติฐาน 

              1.เมื่อเอาขวดกดลงไปในแก้วน้ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
              การทดลองที่ 1 จุ่มขวดลงไปในแก้วน้ำ เปิดฝาออกแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
              การทดลองที่ 2 เอาเรือที่จำลองมาจุ่มลงไปในแก้วน้ำ เปิดฝาออกแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง

สรุปผลการทดลอง
              การทดลองที่ 1 อากาศลอยขึ้นมาบนแก้วแล้วน้ำจึงเข้าไปแทนที่ในขวด เพราะอากาศมีแรงดัน
              การทดลองที่ 2 อากาศลอยขึ้นมาบนแก้วแล้วน้ำจึงเข้าไปแทนที่ในขวด อากาศจึงดันเรือขึ้นไปและเรือก็ไม่เปียกน้ำ

ประเมินตนเอง
              เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังและจดบันทึกกิจกรรมการทดลองของเพื่อนๆเพื่อนำไปเป็นความรู้ในการสอนเด็กๆได้จริงค่ะ

ประเมินเพื่อน
             เพื่อนๆที่นำเสนอกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆทำกันอย่างตั้งใจและน่าสนใจดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
             อาจารย์อธิบายในรายละเอียดที่สำคัญให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและเน้นย้ำเนื้อหาที่ต้องจดจำในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาได้อย่างมากค่ะ

                                                                


         



วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Wednesday 3 October 2018

Learnnig   log 6





           วันนี้เป็นการนำเสนอ   "กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย"  ของนักศึกษาทุกคน  โดยอาจารย์ให้คำแนะนำก่อนเริ่มการทำกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยวิทยาศาสตร์   ดังนี้
         1.ผู้สอนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองใส่ภาชนะให้เรียบร้อย   เรียงลำดับวัสดุอุปกรณ์จากชิ้นเล็กไปยังชิ้นใหญ่   ติดป้ายหมายเลขกับภาชนะที่มีการเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เด็กได้เห็นอยากชัดเจน  เตรียมแผ่นชารท์ที่อธิบายวิธีการทดลองและรูปภาพของการทดลอง  เพื่อให้เด็กๆเข้าใจในการทดลองมากยิ่งขึ้น
         2.ผู้สอนแนะนำวัสดุอุปกรณ์แต่ชนิดให้ละเอียด  และถามว่า " สิ่งของชิ้นนี้ไปทำอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อย่างไร"  ระหว่างการถามเด็กๆผู้สอนต้องให้ความรู้อย่างชัดเจนกับเด็กๆเมื่อเด็กๆเกิดปัญหาสงสัย
        3.ผู้สอนร่วมทำกิจกรรมไปกับเด็กๆ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   สิ่งแรก คือ การตั้งปัญหาสมมติฐานในการทดลองวิทยาศาสตร์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
        4.ผู้สอนให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
        5.ผู้สอนสรุปองค์ความรู้ในการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์  และอาจจะมีใบกิจกรรมให้เด็กๆวาดภาพในการทดลอง เพื่อเป็นองค์ความรู้กับตัวเด็กเอง

กิจกรรมที่   1    เรื่อง   ปั้มขวดลิปเทียน



สมมติฐาน/ปัญหา
     1.ขวดน้ำที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับน้ำสี
     2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       การทดลองที่   1 เขย่าขวดน้ำที่ร้อนแล้วเทน้ำร้อนออก   เทน้ำสีลงใส่จานที่ 1  จากนั้นคว่ำปากขวดลงบนจาน
       การทดลองที่   2 เทน้ำสีลงบนจานที่ 2  จุดเทียนวางไว้ในจาน   จากนั้นนำแก้วมาครอบ                   ปิดเทียนที่จุดไว้

สรุปผลการทดลอง
       การทดลองที่  1 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวด ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
       การทดลองที่ 2  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็สสูงข้ึนตาม น้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไฟดับลง

กิจกรรมทีีี่  2    เรื่อง  เมล็ดถั่วเต้นระบำ



สมมติฐาน/ปัญหา
       1.โซดาที่เทลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว
       2.น้ำที่เทลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
         แก้วใบที่ 1  ใส่ถั่วลงไปโดยใช้ช้อนตวง จากนั้นเทโซดาลงไปในแก้วด้วย
         แก้วใบที่ 2  ใส่ถั่วลงไปโดยใช้ช้อนตวงให้เท่ากับแก้วใบที่ 1จากนั้นเทน้ำลงไปในแก้วด้วย 

สรุปผลการทดลอง
         ในโซดามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ จึงทำให้เมล็ดถั่วเกิดการลอยตัว
ขึ้นมาได้

กิจกรรมที่  3   เรื่อง  แรงตึงผิว



สมมติฐาน/
ปัญหา

      1.น้ำในแก้วจะทำอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       การทดลองที่  1  เทน้ำใส่ลงไปในแก้วน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
       การทดลองที่  2  ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนฝาขวดน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
       การทดลองที่  3  ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนเหรียญจนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา

สรุปผลการทดลอง
       น้ำมีแรงตึงผิว จึงทำให้น้ำไม่ล้นออกมาและทำให้สัตว์บางชนิดเดินบนผิวนน้ำได้  เช่น  ยุง แมลงปอ

กิจกรรมที่  4  เรื่อง  แสง


สมมติฐาน/ปัญหา
       1.ถ้านำไฟฉายมาส่องแก้วน้ำจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
         วางแก้วใบที่ 1  บนโต๊ะ  จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง
         วางแก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่  2  ให้มีระยะห่างกันเล็กน้อย จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง

สรุปผลการทดลอง
         1.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้ว แสงจะไปตกกระทบที่แก้วแล้วเกิดแสงขึ้นมา
         2.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2  พร้อมกัน  แก้วใบที่ 1 จะเกิดแสงใหญ่กว่ากว่าแก้วใบที่ 2 เพราะแก้วใบที่ 1 อยู่ใกล้แสงมากกว่าแก้วใบที่ 2
         
กิจกรรมที่  5   เรื่อง  กระจกเงา



สมมติฐาน/ปัญหา
        1.ถ้าวาดรูปใส่กระดาษแล้วไปส่องกับกระจกจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.วาดรูปใส่กระดาษเพียงครึ่งรูป  แล้วนำไปส่องกับกระจก โดยวางกระดาษกับกระจกให้ตั้งฉากกัน
       
สรุปผลการทดลอง
         เกิดการสะท้อนของเงารูปภาพไปอีกฝั่ง จึงทำให้เห็นรูปภาพที่เต็มขนาด

กิจกรรมที่  6  เรื่อง  ไหลแรงหรือไหลค่อย



สมมติฐาน/ปัญหา
        1.เมื่อเจาะรูบนขวดน้ำ น้ำจะไหลออกมาได้เร็วหรือช้า

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.นำขวดน้ำ มาเจาะรู 2 รู  คือ รูข้างบนและรูข้างล่าง แล้วน้ำเทปใสมาปิดตรงรู ทั้ง 2 รู จากนั้นเทน้ำใส่ลงไปในขวดน้ำที่เจาะรูให้เต็ม
        2.นำขวดน้ำที่เจาะรู มาวางไว้บนถาด  จากนำเทปใสที่ปิดรูไว้  เปิดออกทั้ง 2 รูป ให้น้ำไหลออกมา

สรุปผลการทดลอง
         รูทีอยู่ด้านล่าง น้ำจะไหลออกมาได้เร็วกว่ารูที่อยู่ข้างบน  เพราะรูข้างล่าง

กิจกรรมที่  7  เรื่อง  ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท

                       

สมมติฐาน/ปัญหา
         1.ดินน้ำมันสามารถนำไปปั้นอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
         1.ให้เด็กๆปั้นดินน้ำมันเป็นทรงกลมหรือลูกบอล  จากนั้นให้กดดินน้ำมันด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้ได้รูปทรงคล้ายกล่องขนาดเล็ก (ทรงสี่เหลี่ยม)  จากนั้นกดทุกด้านให้มี ดินน้ำมันสู่ยอดปราสาท  เท่าๆกัน จะได้รูปทรงลูกเต๋าออกมา (สี่เหี่ยมจัตุรัส) หรือให้เด็กปั้นดินน้ำมันเป็นท่อนยาวๆ
(ทรงกระบอก) โดยคลึงดินน้ำมันกับพื้นเรียบ
         2.หลังจากนั้นปล่อยให้เด็กปั้นเป็นทรงต่างๆตามใจชอบ  ซึ่งครูอาจแนะนำเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มเติม  เช่น  ปั้นเป็นทรงพีระมิด   ทรงกรวย
         3.เมื่อได้ดินน้ำมันเป็นทรงต่างๆให้เด็กใช้เส้นด้ายตัดดินน้ำมันที่ปั้นเอาไว้  จากนั้นให้ครูสอนเด็กในเรื่องหน้าตัดที่เกิดขึ้น ว่าเป็นรูปทรงเรขาคณิตชนิดใด  เช่น  การตัดตั้งฉากดินน้ำมันทรงกลมจะได้หน้าตัดเป็นรูปวงกลม  แล้วถามว่าถ้าตัดดินน้ำมันที่เป็นลูกเต๋า จะได้หน้าตัดเป็นรูปอะไรระหว่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสามเหลี่ยม
         4.นอกจากนี้ครูอาจให้เด็กใช้พู่กันระบายสีหน้าตัดเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์  โดยให้เด็กปั้นเล่นบนกระดาษ
สรุปผลการทดลอง
         1.ได้ทักษะการปั้นและศิลปะในการปั้มสีลงบนกระดาษ

         2.ได้เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต ส่วนประกอบของรูปเรขาคณิต  เช่น  มุม ด้าน  จำนวนหน้าตัดและรูปร่างหน้าตัด  ลักษณะภายนอกของรูปทรงเรขาคณิตเรียกว่าอะไร และ รูปทรงมีส่วนประกอบหลัก คือ  ความกว้าง  ความยาวและความสูง  เรียกว่า  " มิติ "   รูปรทรง 2 มิติ   จะมีความยาวและความกว้าง  ส่วนรูปทรง 3 มิติ จะมีความกว้าง  ความยาวและความสูง

กิจกรรมที่ 8  เรื่อง  ท่วงทำนองตัวเลข



สมมติฐาน/ปัญหา
         1.การนับจำนวนทำได้อย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
         1.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส พับมุมทั้ง 4 มุมให้เป็นสามเหลี่ยมให้เท่ากันทุกด้าน
         2.พลิกด้านที่เรียบขึ้นมา แล้วพับมุมทั้ง 4 มุมให้เป้นสามเหลี่ยมให้เท่ากันทุกด้านอีก
         3.ใช้สีระบายลงในช่องทั้ง 4 ให้สวยงาม และเขียนตัวเลข 1-4
         4.คลี่กระดาษให้เป็นรูปทรงจัตุรัส  ลองให้เด็กๆเล่น
สรุปผลการทดลอง
        ได้ฝึการนับจำนวนตัวเลขและเรื่องสี 

กิจกรรมที่ 9  เรื่อง พับและตัด



สมมติฐาน/ปัญหา
        1.เมื่อหยดสีลงบนกระดาษแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.พับกระดาษโดยแบ่งครึ่งให้เท่ากัน  หยดสีลงนกระดาษ แล้วปิดกระดาษลงกดทับตรงที่
หยดสีลงไป
        2.หยดสีลงบนจุดกึ่งกลางของกระดาษ  วางเส้นดายทาบลงบนเส้นจุดกึ่งกลางของกระดาษ
 ปิดกระดาษลงกดทับตรงที่หยดสีไว้ ให้ดึงด้ายลงมาตามเข็มนาฬิกา

สรุปผลการทดลอง
        การดึงด้ายทำให้เกิดเป็นรูปภาพต่างๆขึ้นมา

กิจกรรมที่ 10  เรื่อง  แสง  สี และการมองเห็น



สมมติฐาน/ปัญหา
      1. ทำไมแผ่นสีที่มีสีเดียวกันกับรูปภาพถึงมองไม่เห็น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       1.วาดรูปลงบนแผ่นกระดาษ ใช้สี 3 สี  (แดง เขียว น้ำเงิน)   จากนั้นนำแผ่นใส 3 สี  เรียงต่อกัน 
(แดง เขียว น้ำเงิน) มาวางทาบไว้ข้างบนแผ่นที่วาดรูป

สรุปผลการทดลอง
      กระดาษที่มีสีเดียวกับรูปไม่สามารถมองเห็นได้



ประเมินตนเอง
      วันนี้ตั้งใจนำเสนอกิจกรรมการทดลองของตนเองอย่างตั้งใจ และตั้งใจฟังเพื่อนทำกิจกรรมการทดลอง จดบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อนำมาเป็นความรู้

ประเมินเพื่อน
     วันนี้เพื่อนๆนำเสนอกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ทั้งดีและทั้งที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ

ประเมินอาจารย์
        อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดชัดเจน เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ